Q: คลื่นสัญญาณโทรศัพท์มือถือไม่มีอันตรายต่อสุขภาพจริงหรือ ?

 
 
 

PSA from Cyprus National Committee on Environment and Child’s Health, Republic of Cyprus.

 
 
 

ที่เพิ่งดูจบไปเป็นแคมเปญโฆษณาของภาครัฐฯที่จัดทำโดย Cyprus National Committee on Environment and Child’s Health โปรเจคนี้ได้รับการสนับสนุนจากกระทรวงสาธารณสุขของสาธารณรัฐไซปรัสเพื่อเตือนภัยและรณรงค์ให้ประชาชนตื่นตัวถึงอันตรายของคลื่นสัญญาณโทรศัพท์มือถือ (Radiofrequency radiation) และอุปกรณ์ไร้สาย (Wireless devices) เพื่อให้ประชาชนของเค้าใช้อุปกรณ์เหล่านี้อย่างระมัดระวังมากขึ้น


ผลการศึกษาวิจัยล่าสุดถึงผลกระทบต่อสุขภาพของคลื่นสัญญาณโทรศัพท์มือถือในปัจจุบัน

ในปัจจุบันมีข้อมูลจากการศึกษาวิจัยจำนวนมากที่บ่งชี้ว่าคลื่นโทรศัพท์มือถือและสัญญาณจากอุปกรณ์ไร้สายต่างๆ เช่น WiFi และ Bluetooth นั้นมีอันตรายและส่งผลกระทบต่อสุขภาพ จากการศึกษาพบว่าคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าจากอุปกรณ์เหล่านี้ทำให้เกิดการทำลายเซลล์และดีเอ็นเอของเซลล์ ส่งผลทำให้เกิดความผิดปกติของระบบต่างๆในร่างกายเป็นวงกว้างได้ เช่น

  1. ส่งผลกระทบต่อการพัฒนาและการทำงานของสมองและระบบประสาท เป็นสาเหตุเกี่ยวข้องกับอาการสมาธิสั้น (Attention deficit) และความบกพร่องในการเรียนรู้ (Learning difficulties) ในเด็ก และโรคของระบบประสาทอื่นๆเช่น บ้านหมุน น้ำในหูไม่เท่ากัน นอนไม่หลับ เป็นต้น

  2. ผลต่อระบบสืบพันธุ์ พบว่าเป็นสาเหตุเกี่ยวข้องกับภาวะมีบุตรยาก

  3. เป็นสาเหตุของโรคมะเร็งในสมอง เส้นประสาทหู เต้านมและหัวใจได้ 

และพบว่าผลกระทบจะรุนแรงในเด็กเล็กจนถึงช่วงวัยรุ่นมากกว่าในผู้ใหญ่เพราะเป็นช่วงที่ร่างกายรวมถึงระบบประสาทกำลังเจริญเติบโตและพัฒนา

*จะหาโอกาสนำผลงานวิจัยล่าสุดมาแชร์ในโอกาสต่อไปนะครับ


Q: ทำไมนักวิชาการบางคน หรือหน่วยงานของรัฐฯบางหน่วยมีความเห็นตรงกันข้ามว่าคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าจากอุปกรณ์สื่อสาร-อุปกรณ์ไร้สายปลอดภัยและไม่มีอันตราย

ข่าวหรือบทความที่หาอ่านได้ทั่วไปก็มักจะมีความเห็นแตกต่างกันไป บ้างก็บอกว่ามีผลกระทบ บ้างก็บอกว่าไม่มี สำหรับเรื่องนี้ถ้าใครศึกษาอย่างละเอียดจะพบว่ามีข้อมูลจากงานศึกษาวิจัยมากมายบ่งชี้ในลักษณะเดียวกันว่าคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าจากอุปกรณ์สื่อสารและอุปกรณ์ไร้สายนั้นมีผลเสียต่อสุขภาพจริง นี่เป็นความจริงที่ไม่สามารถปฏิเสธได้เลย ส่วนนักวิชาการ เจ้าหน้าที่หรือหน่วยงานภาครัฐ(หรือองค์กรอิสระในกรณีของประเทศไทยที่ You Know Who คุณก็รู้ว่าเป็นใคร) ที่ออกมาให้ความเห็นว่าไม่มีอันตรายนั้น ส่วนใหญ่ถ้าไม่รู้จริงก็มักจะมีประเด็นเรื่องผลประโยชน์ทับซ้อนกันทั้งนั้น (รู้จริงหมายถึงมาศึกษา มาสัมผัส มาคลุกคลี และประสบการณ์ตรงกับเรื่องราวจริงๆ ไม่ใช่เอาแต่เอาแต่นั่งเทียน นั่งอ่านผลงานวิจัยในห้องของตัวเองอย่างเดียวแล้วก็ออกมาพูดแบบไม่รับผิดชอบ)


การเคลื่อนไหวไปในทิศทางเดียวกันของหมอ นักวิชาการ ภาครัฐฯและประชาชนทั่วโลก

ส่วนตัวผมเองจริงๆแล้วเราไม่ต้องไปถามใครเพราะเห็นคนไข้ที่ป่วยด้วยคลื่นสัญญาณโทรศํพท์มาหาอยู่เป็นประจำอยู่แล้ว การที่มีหมอและนักวิชาการมากมายทั่วโลกออกมาให้ความเห็นเหมือนๆกันว่าคลื่นสัญญาณโทรศัพท์นั้นมีผลกระทบต่อสุขภาพจริงก็เป็นการย้ำให้เรามั่นใจเพราะเราไม่ได้เจอเพียงคนเดียว ซึ่งหมอและนักวิชาการเหล่านี้ส่วนใหญ่ก็มักจะมีที่มาที่ไปคล้ายๆกันกับผม คือได้มีโอกาสทำงานคลุกคลีกับเรื่องนี้หรือกับคนไข้กลุ่มนี้จนพบว่าคลื่นสัญญาณเหล่านี้มีผลกระทบกับสุขภาพคนไข้ของเราจริงๆ ถึงได้ออกมาพูดเหมือนกัน

ในปัจจุบันหมอ นักวิชาการและภาครัฐของหลายประเทศทั่วโลกเริ่มให้การยอมรับผลกระทบต่อสุขภาพของคลื่นสัญญาณโทรศัพท์มือถือมากขึ้นเรื่อยๆ และเริ่มมีมาตรการต่างๆในการควบคุมการใช้งานอุปกรณ์ไร้สายในที่สาธารณะและในหน่วยงานของรัฐออกมาให้เห็นอย่างต่อเนื่อง เช่น ประเทศฝรั่งเศสออกกฏหมายห้ามโรงเรียนทั่วประเทศไม่ให้มี WiFi ในโรงเรียนระดับเตรียมอนุบาล และในโรงเรียนระดับประถมศึกษาให้ปิด WiFi ทุกครั้งเมื่อไม่ได้ใช้งาน ประเทศอิสราเอลก็ออกกฏหมายห้ามไม่ให้มี WiFi ตั้งแต่โรงเรียนระดับเตรียมอนุบาลจนถึงชั้นประถมปีที่ 2 เช่นกัน ส่วนสหรัฐฯเองนั้นก็กำลังมีการประท้วงเพื่อคัดค้านการวางระบบเครือข่าย 5G ที่กำลังจะเริ่มใช้ในหลายๆรัฐฯทั่วประเทศ 


การเคลื่อนไหวของทั้งนักวิชาการ ประชาชนและภาครัฐในหลายประเทศทั่วโลกโดยพร้อมเพรียงกันนั้นไม่ได้เกิดขึ้นโดยบังเอิญ แต่เกิดขึ้นจากหลักฐานที่มากขึ้นเรื่อยๆ ทั้งจากข้อมูลจากงานศึกษาวิจัย ทั้งจากจำนวนผู้ที่ป่วยจากคลื่นสัญญาณโทรศัพท์มือถือที่มากขึ้นเรื่อยๆทั้งเด็กและผู้ใหญ่ แต่ไม่ว่าจะมีหลักฐานพิสูจน์ยืนยันที่ขัดเจนขนาดไหนก็อาจจะไม่สำคัญเพราะบางทีคนเราก็ไม่ได้อยากจะเลือกสิ่งที่ดีกับเรามากที่สุดเสมอไป บางทีเราก็ชอบที่จะเลือกสิ่งที่เราพอใจโดยไม่สนใจผลที่จะตามมา ไม่อย่างนั้นคงไม่มีคนที่ยังคงสูบบุหรี่อยู่ ทั้งๆที่รู้ว่าการสูบบุหรี่ทำให้เป็นมะเร็งปอดได้ 

แต่สุดท้ายก็คงต้องขึ้นอยู่กับตัวเองนะครับ คนเป็นหมอก็คงได้แต่เตือน การปล่อยวางก็เป็นเรื่องที่หมอต้องฝึกมากพอๆกับฝีมือในการตรวจรักษาคนไข้เหมือนกันครับ สาธุๆ


RELATED
ARTICLES